30 ตุลาคม 2552

# สกก.สามเงา ปรับปรุงโรงผลิตน้ำดื่ม ครั้งที่ 1

สหกรณ์การเกษตรสามเงา จำกัด ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำดื่ม "ตราดอกบัว" ได้ดำเนินการปรับปรุงโรงผลิตน้ำดื่ม เพื่อเพิ่มมาตรฐานให้กับน้ำดื่ม "ตราดอกบัว" เพิ่มความเชื่อมั่นในตัวสินค้าให้กับผู้ซื้อสินค้าของสหกรณ์

โดยในระยะแรกนี้ ได้ทำการปรับปรุงบริเวณโดยรอบของโรงผลิตน้ำดื่ม เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม  2552 หลังจากนี้จะได้ทำการปรับปรุงภายในโรงผลิต และคูณลักษณะของพนักงานประจำโรงผลิตฯ ต่อไป


โรงผลิตน้ำดื่ม "ตราดอกบัว" ของสหกรณ์การเกษตรสามเงา จำกัด
ตั้งอยู่ริมถนน ปากทางเขื่อน-เขื่อนภูมิพล


หน้าทางเข้าโรงผลิตน้ำดื่ม เขตทางหลวง ขอทำเองไปก่อน
หลังจากหญ้าหน้าฝนขึ้นสูงท่วมรั้ว


บริเวณโรงผลิตน้ำดื่ม "ตราดอกบัว" หลังการปรับปรุงบริเวณ ครั้งที่ 1


ด้านหลังของโรงผลิตน้ำดื่ม


มองออกไปด้านหน้า


รถส่งน้ำของสหกรณ์กำลังรับน้ำไปส่งลูกค้าประจำวัน


ภายในโรงผลิตน้ำดื่ม ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มมาตรฐาน ขึ้นอีกในระยะต่อไป


เครื่องบรรจุน้ำขวดตามมาตรฐานที่กำหนด


เครื่องบรรจุน้ำถ้วย ตามมาตรฐานที่กำหนด อยู่ในห้องบรรจุแยกจากห้องอื่นๆ


น้ำดื่มบรรจุเสร็จแล้ว รอขนส่งไปให้ลูกค้า

ธุรกิจน้ำดื่มของสหกรณ์การเกษตรสามเงา จำกัด ได้ดำเนินการมาแล้วประมาณ 1 ปี 6 เดือน โดยมีผลการการดำเนินงานครบรอบ 1 ปีเต็ม เมื่อปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2552 (ตั้งแต่ 1 ก.ค.51 ถึง 30 มิ.ย.52) ดังนี้

รายละเอียดกำไร(ขาดทุน) ธุรกิจน้ำดื่ม
ขายน้ำดื่ม                                  988,704.50   บาท
ขายน้ำแข็ง                                122,598.50   บาท
               รวม                         1,111,303.00   บาท

หัก ต้นทุนขาย                      1,749,638.40   บาท ดังนี้
     - สินค้าคงเหลือต้นปี                4,394.10    บาท
     - บวก ซื้อน้ำแข็ง                    37,115.00    บาท
     - บวก ต้นทุนการผลิต        1,733,145.70   บาท
                รวม                        1,774,654.80   บาท
      - หัก สินค้าคงเหลือสิ้นปี       25,016.40    บาท

ขาดทุนขั้นต้น                       (638,335.40)  บาท

หัก ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ    256,807.28   บาท ดังนี้
       - ค่าใช้จ่ายโรงงาน              34,271.00   บาท
       - เงินเดือน                         219,180.00   บาท
       - ดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ กพส.      3,356.17   บาท

ขาดทุนเฉพาะธุรกิจ            (895,142.68)   บาท

ต้นทุนการผลิต
ค่าใช้จ่ายในการผลิต                               1,733,145.70   บาท
        - ค่าวัสดุภาชนะบรรจุ                              763,302.90   บาท
        - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง                                  78,471.40   บาท
        - ค่าไฟฟ้า                                               120,971.50   บาท
        - ค่าเสื่อมราคาโรงงานและเครื่องจักร     770,399.90  บาท

หมายเหตุ : ท่านสามารถช่วยเหลือเราด้วยการแสดงความคิดเห็น ให้คำแนะนำ เพื่อปรับปรุงการผลิตน้ำดื่ม "ตราดอกบัว" ได้ที่ ลิ้งก์  "...ความคิดเห็น" ด้านล่างนี้ หรือดูคำอธิบายวิธีเขียนแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่ ...คลิก..

29 ตุลาคม 2552

# รายชื่อคณะกรรมการ สกก.สามเงา ชุดที่ 40 และผู้ตรวจสอบกิจการ

สหกรณ์การเกษตรสามเงา จำกัด จดทะเบียนเมื่อ : 23 กรกฎาคม 2517
ตั้งอยู่เลขที่ : 49/2 หมู่ 4 ต.สามเงา อ.สามเงา จ.ตาก 63130
โทรศัพท์ : 0-5580-0646 , 0-5554-9192 โทรสาร : 0-5580-0646
เว็บไซท์ : http://www.coopthai.com/samgao/

ที่ตั้งของสหกรณ์การเกษตรสามเงา จำกัด

ดู สหกรณ์การเกษตรสามเงา จำกัด ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า


คณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 40
ตามมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี เมื่อ 26 สิงหาคม 2552

คุณถวิล  ต่ายโพธิ์
ประธานกรรมการ
(วาระที่ 1 ปีที่ 2)
31 ม.4 ต.สามเงา โทร. 08-6036-6430
เกิด : 25 พ.ค. 2502


คุณเทือง  เชื้อยอง
รองประธานกรรมการ
(วาระที่ 2 ปีที่ 1)
34 ม.2  ต.วังหมัน โทร. 08-7729-9407
เกิด : พ.ศ.2496


คุณสมศรี  ทองคำ
เลขานุการ
(วาระที่ 1 ปีที่ 1)
44/2 ม.4 ต.สามเงา โทร. 08-1648-4157
เกิด : 2 พฤษภาคม 2508


คุณจรัญ  รั้งจันทึก
เหรัญญิก
(วาระที่ 1 ปีที่ 2)
29/2 ม.1 ต.วังจันทร์ โทร. 08-348-52210
เกิด : 1 เมษายน 2500


คุณสังวาลย์  กาวิลเครือ
กรรมการ
(วาระที่ 1 ปีที่ 2)
29/1 ม.1 ต.ยกกระบัตร  โทร. 0-5588-1505, 08-3412-6049
เกิด :  27  ธันวาคม  2505


คุณประวิทย์  อินอยู่
กรรมการ
(วาระที่ 1 ปีที่ 2)
4 ม.2  ต.วังจันทร์ โทร. 08-7732-5410
เกิด : 30 ธันวาคม 2506


คุณแสงทัศน์  มะโน
กรรมการ
(วาระที่ 2 ปีที่ 1)
114 ม.5  ต.ยกกระบัตร โทร. 08-7842-0767
เกิด :  พ.ศ.2494


คุณตูม  วงษ์พวง
กรรมการ
(วาระที่ 1 ปีที่ 2)
53 ม.3 ต.วังหมัน  โทร. 08-9602-3418
เกิด : 20 ตุลาคม 2483


คุณประดับ  กมลดิลก
กรรมการ
(วาระที่ 1 ปีที่ 1)
106 ม.3 ต.วังหมัน โทร. 08-7307-3489
เกิด : 24 เมษายน 2502


ผู้ตรวจสอบกิจการ

คุณบุญส่ง  เคลือบวัง
ผู้ตรวจสอบกิจการ
70 ม.4  ต.ยกกระบัตร  โทร. 08-7839-8024
เกิด : พ.ศ. 2495

# ข้อมูลทั่วไป สก.ผู้เลี้ยงโคและการเกษตรฉัตรชัยฟาร์ม จำกัด

สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคและการเกษตรฉัตรชัยฟาร์ม จำกัด ตั้งอยู่ภายใน "ฉัตรชัยฟาร์มแอนด์รีสอร์ท" เลขที่ 99/9 หมู่ที่ 4 ต.ย่านรี อ.สามเงา จ.ตาก ได้รับการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ 2542 ประเภท "สหกรณ์การเกษตร" เลขทะเบียนสหกรณ์ที่ 6300000325519 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2551



สหกรณ์เลี้ยงโคและการเกษตรฉัตรชัยฟาร์ม จำกัด ได้รับอนุญาตจาก บริษัท ฉัตรชัยโฮมสเตย์ จำกัด  ให้ใช้สถานที่ อาคาร โรงเรือนต่างๆ เป็นสถานที่ดำเนินธุรกิจตลอดไปจนกว่าสหกรณ์จะมีสถานที่ดำเนินธุรกิจเอง ตามหนังสือของบริษัทฯ ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2551



ท้องที่ดำเนินงาน : ต.ย่านรี อ.สามเงา จ.ตาก

วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ : วันที่  31  กรกฎาคม ของทุกปี

จำนวนสมาชิกแรกตั้งสหกรณ์ : จำนวน  30  คน

จำนวนหุ้นเมื่อแรกตั้ง : จำนวน  6,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ  10.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  60,000.-บาท

คณะผู้ขอจัดตั้งสหกรณ์ :

1) นายฉัตรชัย  คำไคร้    ประธานคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

2) นายจำเนียร  คำไคร้    รองประธานคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

3) นายกนกพร  คำไคร้    เลขานุการคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

4) นางนิสา  สุวรรณวงศ์    เหรัญญิกคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

5) นางภานุชนารถ  ดอนชูไพร      คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

6) นายประเสริฐ  คำเปียง    คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

7) นายกรนิศา  เขียวทิพย์    คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

8) นางประดิษฐ์  ก้อนคง    คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

9) นายสุชาติ  สุวรรณวงศ์    คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

10) นางสังเวียน  นัธพงศ์สกุล    คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์







28 ตุลาคม 2552

# สนง.สหกรณ์อำเภอสามเงา

ที่ตั้งของสำนักงานสหกรณ์อำเภอสามเงา

ดู ที่ว่าการอำเภอสามเงา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
สำนักงานสหกรณ์อำเภอสามเงา อยู่ภายในที่ว่าการอำเภอสามเงา มันดีกว่าที่ผมเคยอยู่ เพราะบรรจุครั้งแรกก็อยู่บนที่ว่าการกิ่งอำเภอโพธิ์ไทร จ.อุบลฯ คิดว่าตอนนี้ดีและหรูกว่าเมื่อก่อนเยอะแยะ


อาคารที่ว่าการอำเภอสามเงา
ริมถนนปากทางเขื่อน - เขื่อนภูมิพล


ตรงนี้เดิมเป็นป่า กรมฯ เคยสั่งให้หาที่ดินเพื่อสร้างสำนักงานสหกรณ์อำเภอ
ติดต่อทางอำเภอแล้ว พากรรมการมาวัดที่ทำแผนที่เสนอไปแล้ว
ตอนนี้เป็นที่ว่าการอำเภอไปแล้ว !
หน่วยงานที่มาอยู่แถวนี้ก่อนตามลำดับ คือ
สาธารณสุขอำเภอ ตามมาด้วยที่ดินอำเภอ
ร้านข้าวที่ใกล้ที่สุดอยู่ข้างโรงพยาบาล ห่างไปประมาณ 700 เมตร
ภายในอำเภอไม่มี หลายคนห่อข้าวมา


กองร้อย อส. ครับ อยู่ข้างอำเภอ ก็ดีกว่ากองร้อยเดิม


หอประชุมของอำเภอ


ภายในหอประชุม
อาจจะดูเล็กไปหน่อยเมื่อเทียบกับหอประชุมทั่วไปในจังหวัด


ตอนนี้มุมหนึ่งของหอประชุมใช้เก็บของแจกน้ำท่วม
ก็ทยอยแจกกันไปเรื่อยๆ น้ำมาหลายระลอก


โรงรถของอำเภอ ไม่ต้องจอดรถใต้ร่มไม้
ไม่มีป้ายบอกสงวนไว้เป็นที่จอดรถของท่านผู้ใด
ราษฎรก็จอดได้ หากที่มันว่าง


ประชาชนที่มาติดต่อราชการที่อำเภอ ครับ
ความจริงมีที่จอดรถตรงหน้าหอประชุม แต่เดินไกลไปหน่อย


ด้านหลังที่ว่าการอำเภอ มีบ้านพักของสมุห์บัญชี
กรมสรรพากรเขาจัดให้ตามแบบของเขาทั้งสำนักงาน บ้านพักและอุปกรณ์


สภาพป่าด้านหลังอำเภอ


สนง.สหกรณ์อำเภอสามเงา ชั้นล่างที่ว่าการอำเภอสามเงา
หน้าสำนักงานสรรพากรอำเภอสามเงา
นั่งรวมกันกับ ประมงอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ


แถวหน้านี่แหละครับ สำนักงานสหกรณ์อำเภอสามเงา !
คอมพิวเตอร์เป็นของปศุสัตว์ โต๊ะข้างๆ คอมพิวเตอร์เป็นของสัตวบาล
โต๊ะหลังเป็นของประมงอำเภอ และปศุสัตว์อำเภอ


ภายในสำนักงานสหกรณ์อำเภอสามเงา !
โต๊ะสีขาวๆ ด้านใน เป็นโต๊ะของปกครอง เขาบอกว่าฝากไว้ก่อน
โต๊ะมีกระจก พื้นน้ำเงิน เป็นโต๊ะทำงาน และเก้าอี้
ที่ สนง.สหกรณ์จังหวัดจัดมาให้
มันแยกชิ้นตั้งแต่ยังไม่ทันขนขึ้นรถมาอำเภอ


โต๊ะทำงาน แต่มันก็ใช้นั่งทำงานได้


ชิ้นส่วนของโต๊ะทำงาน
ดูแล้วบางส่วนประกอบเข้าไปไม่ได้ ต้องหาซื้ออะหลั่ยมาใส่
เพราะมันแตกหักไปแล้ว บางส่วนพอซ่อมได้
ต้องหาตะปูเกลียวตัวยาวๆ มายึด ว่างๆ แล้วจะซ่อมมันเอง


วิวหน้าโต๊ะทำงาน เห็นถนนเขื่อน - ปากทางเขื่อน


สำรวจแล้ว เดินดูแล้ว ถามแล้ว ทั้งอำเภอไม่มีสัญญาน Wireless Access Point
เขาบอกมันเคยมีที่หน้าห้องนายอำเภอ แต่เสีย เอาไปซ่อมนานแล้ว
เห็นสายแลนระเกะ ระกะ เดินหาจุดที่ใกล้ที่สุด
ไปเห็นกองสายแลนด้านหลังคอมพิวเตอร์ของปศุสัตว์
มองซ้ายขวา ไม่เห็นคน เลยดึงลองเสียบเครื่องดู
เพื่อเช็คสัญญาน ดูว่าเขากำหนดค่าอะไรไว้อย่างไร
โป๊ะเช๊ะ ! ค่าปกติโดยทั่วไป ขอยืมใช้ก่อนเด้อ
กะว่า จะไปหา HUB/Switch ตัวเล็กๆ สักตัว มาต่อขอใช้สัญญานของเขา
หากเขาไม่กล้าอนุญาตให้ใช้ ก็คิดว่าจะไปชี้แจงกับปุศุสัตว์จังหวัดเอง
ตอนนี้ไม่เห็นว่าสายแลนมันต่อกับอุปกรณ์ใด เพราะมันมาจากชั้นบน
ถามใคร ๆ ก็ว่าเป็นโครงการของปศุสัตว์ แล้วใครเปิด-ปิด Rounter นี่ ?
ก็เห็นใช้ได้ตลอดเวลา


รถยนต์ที่ สนง.สหกรณ์จังหวัดจัดให้มาใช้งาน
มันต้องเอาไปซ่อมถึงพอจะสบายขึ้นบ้าง
แค่บิดลูกกุญแจ ยังไม่ทันบิดสตาร์ทเครื่องยนต์ แอร์มันก็ทำงานเสียแล้ว
ปิดแอร์ก็ไม่ได้ เร่งแอร์ก็ไม่ได้
ปิดสวิทช์ดับเครื่องแล้ว เครื่องยังทำงานไปอีก 3-4 วินาที่
ต้องเปิดกระจกรถ เพราะลมข้างนอกร้อนอย่างไรก็เย็นกว่าแอร์ในรถ
ตอนนี้ก็ทน ๆ ไปก่อน

19 ตุลาคม 2552

# คำแนะนำการส่งเสริมสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์

คำแนะนำการส่งเสริมสหกรณ์
ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ


         ส่วนที่ 1 คำแนะนำการส่งเสริมสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์
         ส่วนที่ 2 การจัดมาตรฐานสหกรณ์และหลักฐานการตรวจสอบ

ส่วนที่ 1
คำแนะนำการส่งเสริมสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์
มาตรฐานสหกรณ์
         แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
        1. การส่งเสริมสหกรณ์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานให้รักษามาตรฐานเดิมไว้
        2. การส่งเสริมสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานแต่ละข้อ

1. การส่งเสริมสหกรณ์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
ให้รักษามาตรฐานเดิมไว้

         สหกรณ์ที่ผ่านมาตรฐานสหกรณ์แล้ว จะรักษามาตรฐานสหกรณ์เดิม
สหกรณ์ควรดำเนินการอย่างน้อย ดังนี้

         1.1 สหกรณ์ควรยึดถือการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานประจำปี
ที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เป็นแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายเงิน
ของสหกรณ์

         1.2 กระจายแผนงานลงสู่การปฏิบัติเป็นรายเดือน มอบหมายผู้ปฏิบัติให้ชัดเจน
และมีผู้รับผิดชอบและติดตามผลการปฏิบัติงาน ทั้งฝ่ายกรรมการและฝ่ายจัดการ

         1.3 คณะกรรมการติดตามผลการปฏิบัติงานของสหกรณ์รายเดือน ในที่ประชุม-
คณะกรรมการดำเนินการงบทดลองประจำเดือน และงบรับ – จ่าย ของสหกรณ์

         1.4 คณะกรรมการติดตามผลการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์เป็นประจำเดือน
เพื่อทราบผลประกอบการและปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ จากการดำเนินธุรกิจของ
สหกรณ์ ดังนี้
              (1) ธุรกิจการรับเงินฝาก
              (2) ธุรกิจการให้เงินกู้ หรือสินเชื่อ
              (3) ธุรกิจการรวมซื้อ การรวมขาย
              (4) ธุรกิจการให้บริการ
              (5) ธุรกิจการแปรรูป เช่น โรงสี, โรงเมล็ดพันธุ์, โรงนม, โรงงานยาง เป็นต้น
              (6) อื่น ๆ

         1.5 สหกรณ์ควรมีการควบคุมภายในของสหกรณ์ และติดตามผลเป็นประจำเดือน
ดังนี้
              (1) การดูแลทรัพย์สินของสหกรณ์ให้พร้อมใช้งาน
              (2) การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินสดให้เป็นไปตามที่ข้อบังคับและ
                   ระเบียบกำหนด
              (3) การจัดทำบัญชีของสหกรณ์
              (4) ธุรกิจสินเชื่อ
              (5) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (การซื้อ)
              (6) ธุรกิจการรวบรวมผลผลิต
              (7) ธุรกิจการรับฝากเงิน
              (8) ธุรกิจการแปรรูป
              (9) ธุรกิจการให้บริการ
              (10) การจัดสวัสดิการ

รายละเอียดตามคำแนะนำแนวทางการควบคุมภายในสำหรับสหกรณ์
         1.6 สหกรณ์จัดทำบัญชีให้เป็นปัจจุบัน
               (1) สมุดบันทึกรายการขั้นต้น ได้แก่ สมุดเงินสด, สมุดซื้อ, สมุดขายสินค้า,
สมุดรายได้ค่าบริการและสมุดรายวันทั่วไป และตรวจนับสินค้าคงเหลือเป็นประจำ
ทุกเดือน
               (2) สมุดบัญชีแยกประเภท
               (3) งบทดลอง
               (4) งบการเงิน ได้แก่ งบดุล งบกำไรขาดทุน งบต้นทุนขาย/บริการ
                     งบต้นทุนการผลิต

รูปแบบบัญชีตามที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด
               (5) จัดทำงบการเงินทุกไตรมาส และจัดทำงบการเงิน ณ วันสิ้นปีบัญชี
เพื่อส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายใน 30 วัน

         1.7 สหกรณ์มีการตรวจนับเงินสด เพื่อตรวจสอบเงินสดคงเหลือเป็นไปตามที่
กำหนดในระเบียบ
     
        1.8 คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ ดำเนินการ ดังนี้
             (1) ตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมการ
             (2) ตรวจสอบหลักประกันของเจ้าหน้าที่
             (3) มีคำสั่งมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติงานของกรรมการ และเจ้าหน้าที่อย่าง
                   ชัดเจน

        1.9 ให้ผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ เข้าตรวจสหกรณ์และรายงานผล
ในที่ประชุมคณะกรรมการฯเป็นประจำทุกเดือน

        1.10 มีการตรวจสอบระเบียบ / ข้อบังคับของสหกรณ์เหมาะสมครบถ้วน
กับการปฏิบัติงานหรือไม่

        1.11 สหกรณ์มีการจัดสรรกำไรสุทธิตามข้อบังคับ โดยเฉพาะการจัด
สวัสดิการสมาชิกและทุนสาธารณะประโยชน์ และมีการจ่ายเงินทุนสวัสดิการ
และสาธารณประโยชน์ในแต่ละรอบปีบัญชี

        1.12 สหกรณ์จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ภายใน 150 วันนับแต่
วันสิ้นปีทางบัญชี

        1.13 สหกรณ์ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์

        1.14 สหกรณ์ส่งเสริมให้สมาชิกมาทำธุรกิจกับสหกรณ์ โดยดำเนินการดังนี้
                - สหกรณ์จะต้องทำธุรกิจตามความต้องการของสมาชิก
                - สหกรณ์จะต้องทำความเข้าใจกับสมาชิกถึงวิธีการและขั้นตอนการทำธุรกิจ
                   ของสหกรณ์ ให้ความยุติธรรมกับสมาชิกในด้านราคาผลผลิต ราคาขาย
                   สินค้าและบริการ อัตราดอกเบี้ย ตลอดจนรับผิดชอบต่ออุปกรณ์การตลาด
                   ที่บริการสมาชิก และทำความเข้าใจในผลประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับใน
                   การดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์ ได้แก่ เงินเฉลี่ยคืนตามส่วนธุรกิจ และ
                   เงินปันผลตามหุ้น อัตราผลตอบแทนที่แตกต่าง เป็นต้น
                - สหกรณ์จะต้องเน้นให้เห็นถึงการบริการที่แตกต่าง ระหว่างสมาชิกกับ
                   บุคคลภายนอกเช่น ราคาที่แตกต่าง การบริการที่แตกต่าง อัตราผล
                   ตอบแทนที่แตกต่าง
                - สหกรณ์จะต้องช่วยเหลือสมาชิกตามสมควร เมื่อสมาชิกได้รับ
                   ความเดือดร้อนด้านการประกอบอาชีพ และด้านอื่น ๆ เช่น
                   การเจ็บป่วย ฯลฯ เป็นต้น
                - สหกรณ์ต้องมีข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นของสมาชิกในเรื่อง การผลิต
                   ปัจจัยการผลิต รายได้ รายจ่าย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำธุรกิจกับ
                   สมาชิกต่อไป
                - หากสหกรณ์มีกำไรควรจัดสรรเป็นเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนตามส่วน
                   ธุรกิจให้กับสมาชิก

2. การส่งเสริมสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
แต่ละข้อ


การส่งเสริมสหกรณ์ให้ได้มาตรฐาน ควรดำเนินการอย่างน้อยตามขั้นตอน
ดังนี้


ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสหกรณ์ย้อนหลังว่า เมื่อ
เปรียบเทียบกับเกณฑ์ชี้วัดระดับมาตรฐานสหกรณ์แต่ละข้อแล้ว
ผลการดำเนินงานในข้อนั้นเป็นอย่างไร ผ่านหรือไม่ผ่าน ถ้าไม่ผ่านข้อใด
ให้วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุแห่งการไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อนั้น และวางแผน
ที่จะไปส่งเสริม แนะนำ


ขั้นตอนที่ 2 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกณฑ์มาตรฐานทุกข้อ
และร่วมวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน


            ตามขั้นตอนที่ 1 กับสหกรณ์และเจ้าหน้าที่เพื่อหาแนวทางแก้ไข
หรือแนวทางการดำเนินงาน


ขั้นตอนที่ 3 แนะนำ ส่งเสริม การปฏิบัติงานของสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์
มาตรฐานแต่ละข้อ ดังนี้


มาตรฐานข้อ 1 ผลการดำเนินงานในรอบสองปีบัญชีย้อนหลัง
สหกรณ์มีผลการดำเนินงานไม่ขาดทุน เว้นแต่ปีใดมีอุบัติภัยหรือภัย
ธรรมชาติจนเกิดความเสียหายต่อสมาชิกและสหกรณ์โดยรวม
ให้ตัดปีนั้นออก

          1) ร่วมวิเคราะห์สาเหตุแห่งการขาดทุน อาจพิจารณาจาก
              - รายได้น้อย อาจเกิดจาก สมาชิกน้อย ปริมาณธุรกิจน้อย
                 ประเภทธุรกิจน้อย
              - รายจ่ายมาก อาจเกิดจาก ต้นทุนการดำเนินงานสูง ไม่ประหยัด
                 และไม่ปฏิบัติตามแผนงบประมาณ
                 เมื่อได้สาเหตุแล้ว นำมาวางแนวทางแก้ไขร่วมกัน ซึ่งแนวทาง
การวิเคราะห์ได้แนะนำไว้แล้ว ในเอกสารคู่มือการพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
สู่มาตรฐาน ในขั้นตอนที่ 2 เรื่อง การกำหนดโครงการหรือแผนงานของสหกรณ์ /
กลุ่มเกษตรกร (หน้าที่ 12) โดยจัดทำตัวอย่าง โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ
กำไรของสหกรณ์
             2) จัดทำแผนปฏิบัติงานของสหกรณ์ เสนอที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
พิจารณา เพื่อนำมาเป็นแผนปฏิบัติงานประจำปี และกระจายแผนลงสู่การปฏิบัติ
เป็นรายเดือน มอบหมายผู้ปฏิบัติงานให้ชัดเจน มีผู้รับผิดชอบติดตามผลการ
ปฏิบัติงานทั้งฝ่ายกรรมการและฝ่ายจัดการ และดำเนินการตามแนวทางการ
ส่งเสริมสหกรณ์ให้ได้มาตรฐาน

มาตรฐานข้อ 2 ผลการดำเนินงานในรอบสองปีบัญชีย้อนหลัง
ไม่มีการกระทำอันถือได้ว่าทุจริตต่อสหกรณ์

                 ส่งเสริมตามคำแนะนำ แนวทางการควบคุมภายในสำหรับสหกรณ์
ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดทำ

มาตรฐานข้อ 3 ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชีสุดท้ายสหกรณ์
จัดทำงบการเงินแล้วเสร็จและส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอ
เพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน
นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี

           1) มอบหมายเจ้าหน้าที่จัดทำบัญชี
           2) ตรวจสอบหลักฐานการลงบัญชีให้ถูกต้อง และบันทึกรายการทางบัญชี
               ในสมุดบัญชีขั้นต้น จนถึงขั้นปลายให้ครบถ้วน ถูกต้อง ประจำวัน
               ประจำเดือน
           3) จัดทำงบทดลองเป็นประจำเดือน ตรวจนับสินค้าคงเหลือ และตรวจ
               ทะเบียนคุมต่าง ๆ ให้ตรงกับงบทดลอง
           4) จัดทำงบการเงินทุกไตรมาส และจัดทำงบการเงิน ณ วันสิ้นปีบัญชี
                เพื่อส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายใน 30 วัน
            5) การจัดทำบัญชีเป็นไปตามรูปแบบบัญชีตามที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์แนะนำ

มาตรฐานข้อ 4 ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชีสุดท้าย สหกรณ์
ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของสมาชิกทั้งหมด ร่วมทำธุรกิจ
กับสหกรณ์


           สหกรณ์จะต้องพัฒนาการมีส่วนร่วมของสมาชิก โดยจัดทำ ทะเบียนสมาชิก
ที่มาทำธุรกิจกับสหกรณ์และที่ไม่มาทำธุรกิจกับสหกรณ์ (การออกแบบทะเบียนฯ
ขอให้สหกรณ์จังหวัดพิจารณาดำเนินการเองตามความเหมาะสมและให้สอดคล้องกับ
คำอธิบายประกาศกรมฯ ข้อ 4 ด้วย) สำหรับสมาชิกที่ไม่มาทำธุรกิจกับสหกรณ์
จะต้องไปพบปะเยี่ยมเยียน หาเหตุผลว่า สมาชิกมีเหตุผลอะไรที่ไม่มาทำธุรกิจ
กับสหกรณ์ ซึ่งอาจพบว่า สมาชิกย้ายออกนอกแดน ไม่มีตัวตน หรือเหตุผลการ
บริการของสหกรณ์ ซึ่งจะต้องนำมาปรับปรุง โดยพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้
ประกอบแนวทางปฏิบัติงาน
          1) สหกรณ์จะต้องทำธุรกิจและให้บริการตามความต้องการของสมาชิก
          2) สหกรณ์จะต้องทำความเข้าใจกับสมาชิก ถึงวิธีการ และขั้นตอนการทำธุรกิจ
              ของสหกรณ์ ให้ความยุติธรรมกับสมาชิกในด้านราคาผลผลิต ราคาขายสินค้า
               และบริการ อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น และทำความเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่
               สมาชิกจะได้รับในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์ ได้แก่ เงินเฉลี่ยคืนตาม
               ส่วนธุรกิจ และเงินปันผลตามหุ้น เป็นต้น
           3) สหกรณ์จะต้องเน้นให้สมาชิกเห็นถึงการบริการที่แตกต่าง ระหว่างสมาชิก
               กับบุคคลภายนอก เช่น ราคาที่แตกต่าง บริการที่แตกต่าง เป็นต้น
           4) สหกรณ์จะต้องช่วยเหลือสมาชิกตามสมควร เมื่อสมาชิกได้รับความ
               เดือดร้อนด้านการประกอบอาชีพ และด้านอื่น ๆ เช่น การเจ็บป่วย ฯลฯ
               เป็นต้น
           5) สหกรณ์ต้องมีข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นของสมาชิกในเรื่อง การผลิต
               ปัจจัยการผลิต รายได้ รายจ่าย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำธุรกิจกับ
               สมาชิกต่อไป

มาตรฐานข้อ 5 ต้องจัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์ปฏิบัติงานประจำ
รับผิดชอบดำเนินการและธุรกิจของสหกรณ์ หากจะไม่มีการจัดจ้างต้อง
มีกรรมการดำเนินการ หรือ สมาชิก ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำ

           1) สหกรณ์จะต้องดำเนินธุรกิจให้มีปริมาณเพียงพอ ที่จะมีรายได้เป็นค่าใช้จ่าย
               ในการจัดจ้างเจ้าหน้าที่
           2) หากมีธุรกิจไม่เพียงพอ ให้มอบหมาย กรรมการหรือสมาชิกมาดำเนินการ
               และจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของสหกรณ์ฯ

มาตรฐานข้อ 6 ผลการดำเนินงานในรอบสองปีบัญชีย้อนหลัง
สหกรณ์ต้องมีการจัดสรรกำไรสุทธิ และจ่ายเงินทุนสวัสดิการสมาชิก
หรือทุนสาธารณะประโยชน์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง

           1) สหกรณ์จะต้องดำเนินธุรกิจมีกำไรเพียงพอ
           2) แนะนำให้จัดสรรกำไรสุทธิเป็นทุนสวัสดิการสมาชิกและหรือทุน
               สาธารณะประโยชน์รวมทั้งให้มีการจ่ายเงินทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมนั้นด้วย

มาตรฐานข้อ 7 ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชีสุดท้าย
สหกรณ์ต้องไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง
ของนายทะเบียนสหกรณ์

     สหกรณ์จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบการดำเนินงานของสหกรณ์ ดังนี้
           1) ผู้ตรวจสอบกิจการเข้าตรวจสอบสหกรณ์ และรายงานผลการตรวจสอบ
               ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เป็นประจำทุกเดือน หากมีปัญหา
                คณะกรรมการฯ จะต้องดำเนินการแก้ไข
           2) คณะกรรมการดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์
                ให้เป็นไปตามระเบียบฯ
           3) ผู้ตรวจการสหกรณ์ (ฝ่ายเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์) เข้าไปตรวจสอบ
               กิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์

ขั้นตอนที่ 4 ติดตามและประเมินผล
           1) กรรมการดำเนินการตรวจติดตามการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ 3 รายงาน
               เสนอคณะกรรมการ
           2) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ติดตามผลเสนอสหกรณ์จังหวัดและแจ้งสหกรณ์

ส่วนที่ 2
การจัดมาตรฐานสหกรณ์
และหลักฐานการตรวจสอบ


          การจัดมาตรฐานสหกรณ์ ให้ดำเนินการตามประกาศกรมส่งเสริมสหกรณ์
เรื่อง กำหนดระดับมาตรฐานสหกรณ์ ซึ่งกำหนดให้จัดมาตรฐานสหกรณ์ ปีละ 1 ครั้ง
ณ วันที่ 1 กันยายน ของทุกปี โดยดำเนินการดังนี้

          1. การนับระยะเวลา ให้นับระยะเวลาวันสิ้นปีบัญชี ก่อนวันที่ 1 กันยายน
เมื่อนับรอบระยะเวลาแล้วครบ 2 ปี และครบ 1 ปี ตามเกณฑ์ชี้วัดระดับมาตรฐาน
สหกรณ์แต่ละข้อ ทั้งนี้ การนับเวลาแต่ละสหกรณ์จะต้องนับระยะเวลาชนรอบปี
เฉพาะสหกรณ์นั้น ๆ

          2. หลักฐานการตรวจสอบมาตรฐานสหกรณ์ ให้ใช้เอกสารประกอบการ
พิจารณาการจัดระดับมาตรฐานสหกรณ์แต่ละข้อตามเอกสาร 1 ที่แนบท้ายคำแนะนำนี้
              สำหรับตัวชี้วัดระดับมาตรฐานสหกรณ์ข้อ 4 “สหกรณ์ต้องมีสมาชิก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
ของสมาชิกทั้งหมดร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์”
ให้แนะนำ
สหกรณ์จัดทำแบบสรุปข้อมูลจำนวนสมาชิกที่ร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์ตามเอกสาร 2
ที่แนบท้ายคำแนะนำนี้ และนำมาเป็นหลักฐาน

           3. เมื่อจัดมาตรฐานสหกรณ์เสร็จแล้ว ให้เก็บหลักฐานการจัดมาตรฐาน
สหกรณ์ตามเอกสาร 1 (ยกเว้นเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ข้อ 4 ให้เก็บหลักฐานเฉพาะ
แบบสรุปข้อมูลจำนวนสมาชิกที่ร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์ตามแบบเอกสาร 2 ) โดย
เก็บไว้ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด เพื่อการตรวจสอบต่อไป
------------------------------------------------------------------------------------------

# มาตรฐานกลุ่มเกษตร ปี 2552

การจัดมาตรฐานกลุ่มเกษตรกร
ของกรมส่งเสริมสหกรณ์

ารจัดมาตรฐานกลุ่มเกษตรกรเป็นการติดตามงานของกลุ่มเกษตรกรที่จะทําให้
ทราบว่ากลุ่ม
เกษตรกรมีจํานวนจริงเท่าไร และมีสถานะเป็นอย่างไรบ้าง

โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
          1. กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านมาตรฐานสามารถดําเนินการตามกฎหมายหมายได้
          2. กลุ่มเกษตรกรที่ต่ำกว่ามาตรฐานเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ไม่สามารถปฏิบัติ
ตามกฎหมายได้

หลักเกณฑ์การจัดมาตรฐานกลุ่มเกษตรกรของกรมส่งเสริมสหกรณ์

          ได้มีการปรับปรุงใหม่ตามประกาศ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2550
กลุ่มเกษตรกรที่จะจัดมาตรฐานต้องจัดตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เพราะต้องใช้ข้อมูล
ในปีในปีล่าสุด

โดยมี ตัวชี้วัด 5 รายการ ดังนี้
         1. คณะกรรมการดําเนินการจัดให้มีการจัดทํางบดุลรอบสิบสองเดือนแล้วเสร็จ
และจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบได้ภายใน 150 วัน ตามกฎหมาย
        
2. ไม่มีข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับรายการข้อบกพร่องทางการเงินและ
บัญชีอย่างร้ายแรง
        
3. มีการทําธุรกิจหรือการบริการอย่างน้อย 1 ชนิด
        
4. มีการประชุมใหญ่สามัญประจําปีภายในกําหนดเวลา 150 วัน ตามกฎหมาย
        
5. มีกําไรสุทธิประจําปีและมีการจัดสรรกําไรสุทธิประจําปีตามกฎหมาย

ผลการจัดมาตรฐานกลุ่มเกษตรของจังหวัดตาก
สำหรับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสามเงา

ณ  วันที่ 1  กันยายน  2552

1. กลุ่มเกษตรทำนาวังจันทร์
    ระดับมาตรฐาน = ผ่านมาตรฐาน
                มาตรฐานข้อที่ 1 = ผ่านมาตรฐาน
                มาตรฐานข้อที่ 2 = ผ่านมาตรฐาน
                มาตรฐานข้อที่ 3 = ผ่านมาตรฐาน
                มาตรฐานข้อที่ 4 = ผ่านมาตรฐาน
               มาตรฐานข้อที่ 5 = ผ่านมาตรฐาน
2. กลุ่มเกษตรทำไร่วังจันทร์
    ระดับมาตรฐาน = ผ่านมาตรฐาน
               มาตรฐานข้อที่ 1 = ผ่านมาตรฐาน
               มาตรฐานข้อที่ 2 = ผ่านมาตรฐาน
               มาตรฐานข้อที่ 3 = ผ่านมาตรฐาน
               มาตรฐานข้อที่ 4 = ผ่านมาตรฐาน
               มาตรฐานข้อที่ 5 = ผ่านมาตรฐาน
-------------------------------------------------------------------------------------

# โครงการ "เยี่ยมเยียนยามเย็น (4ย)

1. หลักการและเหตุผล
     “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เป็นภารกิจหลักของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
มีนายอำเภอ เป็นตำแหน่งหลัก และเป็นกลไกสำคัญยิ่งของกรมการปกครอง
ในส่วนภูมิภาค ที่จะทำให้ภารกิจและนโยบาย ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
นายอำเภอมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเชื่อมต่อราชการส่วนจังหวัด และส่วนท้องถิ่น
เพื่อสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
สร้างความเจริญรุ่งเรือง อยู่ดีมีสุขให้แก่ประชาชนในฐานะผู้กำกับดูแลจึงได้
กำหนดให้มีโครงการเยี่ยมเยียนยามเย็น (4 ย) อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ขึ้น

2. วัตถุประสงค์
    1. เพื่อรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่และแสวงหาแนวทาง
        แก้ไขปัญหา จากทุกส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
    2. เพื่อแก้ไขและสนองความต้องการของประชาชน ได้ถูกต้อง และตรงตามข้อเท็จจริง
    3. เพื่อสร้างระบบการบริหาร และการพัฒนาที่ประชาชนมีความเชื่อมั่น และศรัทธา
        ต่อระบบราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันนักปกครองให้เป็นที่แพร่หลาย

3. เป้าหมาย
    1. คณะกรรมการหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านในเขตพื้นที่ (46 หมู่บ้าน) ได้รับคำแนะนำ
        การปฏิบัติหน้าที่ ตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายจากทุกส่วนราชการและ
        หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    2. ราษฎร ทุกหมู่บ้านในเขตพื้นที่ (46 หมู่บ้าน)

4. ระยะเวลาดำเนินการ
    ตั้งแต่เดือน กันยายน 2552 – กันยายน 2553
    (ตามแผนที่กำหนดแนบท้าย เป็นรายเดือน)

5.งบประมาณ
   ใช้งบประมาณปกติของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

6. ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ที่ทำการปกครองอำเภอสามเงา

7. สถานที่ดำเนินงาน
    ตามหมู่บ้านกำหนด


8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

   1. สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ ได้ถูกต้องและรวดเร็ว
   2. สามารถพัฒนาหมู่บ้าน ให้เจริญก้าวหน้า ประชาชนมีความเชื่อมั่น
       และศรัทธาต่อหน่วยงาน ทางราชการ

แผนเยี่ยมเยียนยามเย็น (4 ย.) อำเภอสามเงา
(ทุกวันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป)

1.  วันที่ 8 ตุลาคม 2552  หมู่ 2 ต.สามเงา ณ ศาลาเอนกประสงค์

2. วันที่ 15 ตุลาคม 2552  หมู่ 3 ต.ย่านรี ณ  ศาลาวัดบ้านสามเงา

3.  วันที่ 22 ตุลาคม 2552  หมู่ 1 ต.วังหมัน ณ  วัดบ้านปากทางเขื่อน

4. วันที่ 29 ตุลาคม 2552  หมู่ 3 ต.วังจันทร์ ณ  ศาลาเอนกประสงค์

5.  วันที่ 5 พฤศจิกายน 2552  หมู่ 1 ต.ยกกระบัตร ณ  ศาลาเอนกประสงค์

6. วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552  หมู่ 3 ต.สามเงา ณ  ศาลาเอนกประสงค์

7. วันที่ 19 พฤศจิกายน 2552   หมู่ 4 ต.ย่านรี ณ  ศาลาเอนกประสงค์

8. วันที่ 26 พฤศจิกายน 2552  หมู่ 2 ต.วังหมัน ณ  ศาลาวัดวังไคร้ออก

9. วันที่ 3 ธันวาคม 2552  หมู่ 1 ต.วังจันทร์ ณ  ศาลาวัดวังโพ

10. วันที่ 10 ธันวาคม 2552  หมู่ 2 ต.ยกกระบัตร ณ  ศาลาวัดบ้านยกกระบัตร

11. วันที่ 17 ธันวาคม 2552  หมู่ 4 ต.สามเงา ณ  ศาลาเอนกประสงค์

12. วันที่ 24 ธันวาคม 2552  หมู่ 2  ต.ย่านรี ณ  ศาลาเอนกประสงค์

13. วันที่ 31 ธันวาคม 2552   หมู่ 4 ต.บ้านนา ณ  ศาลาวัดโสมง
.........................................................................................................................
14. วันที่ 7 มกราคม 2553  หมู่ 4 ต.วังหมัน ณ  ศาลาเอนกประสงค์

15. วันที่ 14 มกราคม 2553  หมู่ 4 ต.วังจันทร์ ณ  ศาลาเอนกประสงค์

16. วันที่ 21 มกราคม 2553 หมู่ 6 ต.ยกกระบัตร ณ  ศาลาวัดหนองเชียงคา

17. วันที่ 28 มกราคม 2553  หมู่ 5 ต.สามเงา ณ  โรงเรียนบ้านท่าปุย

18. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553  หมู่ 5 ต.ย่านรี ณ  ศาลาวัดท่าปุยตก

19. วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553  หมู่ 5 ต.บ้านนา ณ  ศาลาวัดบ้านสันป่าป๋วย

20. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553  หมู่ 5 ต.วังหมัน ณ  ศาลาอเนกประสงค์

21. วันที่ 4 มีนาคม 2553  หมู่ 5 ต.วังจันทร์ ณ  ศาลาเอนกประสงค์

22. วันที่ 11 มีนาคม 2553  หมู่ 3 ต.ยกกระบัตร ณ  ศาลาวัดบ้านท่าไผ่

23. วันที่ 18 มีนาคม 2553  หมู่ 6 ต.สามเงา ณ  ศาลาเอนกประสงค์

24. วันที่ 25 มีนาคม 2553  หมู่ 1 ต.บ้านนา ณ  โรงเรียนบ้านอูมวาบ

25. วันที่ 1 เมษายน 2553  หมู่ 2 ต.บ้านนา ณ  อาคารเอนกประสงค์

26. วันที่ 8 เมษายน 2553  หมู่ 3 ต.บ้านนา ณ  โรงเรียนบ้านหินลาดนาไฮ

27. วันที่ 15 เมษายน 2553  หมู่ 6 ต.วังจันทร์ ณ  ศาลาเอนกประสงค์

28. วันที่ 22 เมษายน 2553  หมู่ 7 ต.ยกกระบัตร ณ  ศาลาวัดบ้านแม่เชียงราย

29. วันที่ 29 เมษายน 2553  หมู่ 7 ต. สามเงา ณ  ศาลาเอนกประสงค์

30. วันที่ 6 พฤษภาคม 2553  หมู่ 3 ต.ย่านรี  ณ  ศาลาวัดสามเงา

31. วันที่ 13 พฤษภาคม 2553  หมู่ 5 ต.บ้านนา ณ  ศาลาวัดบ้านสันป่าป๋วย

32. วันที่ 20 พฤษภาคม 2553  หมู่ 6 ต.วังหมัน ณ  ศาลาเอนกประสงค์

33. วันที่ 27 พฤษภาคม 2553  หมู่ 9 ต.วังจันทร์ ณ  ศาลาวัดบ้านศานติ

34. วันที่ 3 มิถุนายน 2553  หมู่ 7 ต.วังหมัน ณ  ศาลาวัดบ้านวังหวาย

35. วันที่ 10 มิถุนายน 2553  หมู่ 9 ต.ยกกระบัตร ณ  ศาลาวัดหนองแม่ล่าง

36. วันที่ 17 มิถุนายน 2553  หมู่ 10 ต.วังจันทร์ ณ  ศาลาเอนกประสงค์

37. วันที่ 24 มิถุนายน 2553  หมู่ 10 ต.ยกกระบัตร ณ  ศาลาอเนกประสงค์

38. วันที่ 1 กรกฎาคม 2553  หมู่ 11 ต.ยกกระบัตร  ณ  ที่การผู้ใหญ่บ้าน

39. วันที่ 8 กรกฎาคม 2553  หมู่ 12  ต.ยกกระบัตร  ณ  ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

40. วันที่ 15 กรกฎาคม 2553  หมู่ 2 ต.วังจันทร์ ณ  สำนักสงฆ์บ้านวังพระยาจันทร์

41. เวลา 22 กรกฎาคม 2553 หมู่ 1 ต.สามเงา ณ  ศาลาวัดบ้านป่ายางใต้

42. วันที่ 29 กรกฎาคม 2553  หมู่ 4 ต.ยกกระบัตร ณ  ศาลาวัดบ้านสองแคว

43. วันที่ 5 สิงหาคม 2553  หมู่ 1 ต.ย่านรี ณ  ศาลาเอนกประสงค์

44. วันที่ 12 สิงหาคม 2553  หมู่ 3 ต.วังหมัน ณ  ศาลาเอนกประสงค์

45. วันที่ 19 สิงหาคม 2553  หมู่ 8 ต.วังจันทร์  ณ  ศาลาสำนักสงฆ์บ้านมีสุข

46. วันที่ 26 สิงหาคม 2553  หมู่ 5 ต.ยกกระบัตร ณ  ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านแม่ระวาน

47. วันที่ 2 พฤษภาคม 2553  หมู่ 2 ต.สามเงา ณ  ศาลาอเนกประสงค์

48. วันที่ 9 พฤษภาคม 2553  หมู่ 3 ต.ย่านรี ณ  ศาลาวัดบ้านสามเงา

50. วันที่ 16 พฤษภาคม 2553  หมู่ 1 ต.วังหมัน ณ  ศาลาวัดปากทางเขื่อน

51. วันที่ 23 พฤษภาคม 2553  หมู่ 3 ต.วังจันทร์ ณ  ศาลาอเนกประสงค์

52. วันที่ 30 พฤษภาคม 2553  หมู่ 1 ต.ยกกระบัตร ณ  ศาลาเอนกประสงค์

53. วันที่ 7 ตุลาคม 2553  หมู่ 3 ต.สามเงา ณ  ศาลาเอนกประสงค์

54. วันที่ 14 ตุลาคม 2553  หมู่ 4 ต.ย่านรี ณ  ศาลาอเนกประสงค์

55. วันที่ 29 ตุลาคม 2553  หมู่ 2 ต.วังหมัน ณ  ศาลาวัดวังไคร้ออก

56. วันที่ 28 ตุลาคม 2553  หมู่ 1 ต.วังจันทร์ ณ  ศาลาวัดวังโพ

57. วันที่ 4 พฤศจิกายน 2553  หมู่ 2 ต.ยกกระบัตร ณ  ศาลาวัดบ้านยกกระบัตร

58. วันที่ 11 พฤศจิกายน 2553  หมู่ 4 ต. สามเงา ณ ศาลาเอนกประสงค์

59. วันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา 18.00 น. หมู่ 2 ต.ย่านรี ณ  ศาลาเอนกประสงค์

60. วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553  หมู่ 4 ต.บ้านนา ณ  ศาลาวัดบ้านโสมง

61. วันที่ 2 ธันวาคม 2553  หมู่ 4 ต.วังหมัน ณ  ศาลาเอนกประสงค์

61. วันที่ 9 ธันวาคม 2553  หมู่ 4 ต.วังจันทร์  ณ  ศาลาเอนกประสงค์

62. วันที่ 16 ธันวาคม 2553  หมู่ 6 ต.สามเงา ณ  ศาลาเอนกประสงค์

63. วันที่ 23 ธันวาคม 2553  หมู่ 5 ต.ยกกระบัตร  ณ  ศูนย์เรียนรู้บ้านแม่ระวาน

64. วันที่ 30 ธันวาคม 2553  หมู่ 5 ต.ย่านรี ณ  ศาลาวัดท่าปุยตก

หมายเหตุ : ตำบลบ้านนา เป็นพื้นที่บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
---------------------------------------------------------------------------------

# โครงการ "วันพระ เลิกละ อบายมุข"

กำหนดออกทำบุญถวายปิ่นโตพระ
โครงการ "วันพระ เลิกละ อบายมุข"

อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ปี 2552
************************************

1. วัดบ้านท่าปุย                  
    วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 วันศุกร์ที่ 4 กันยายน 2552 เวลา 11.00 น.

2. วัดชลประทานรังสรรค์    
    วันพระแรม 15 ค่ำ เดือน 10 วันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2552 เวลา 11.00 น.

3. วัดสามเงา                       
    วันพระแรม 15 ค่ำ เดือน 11 วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552 เวลา 11.00 น.

4. วัดป่ายางใต้                    
    วันพระแรม 14 ค่ำ เดือน 11 วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2552 เวลา 11.00 น.

5. วัดป่ายางตก                   
    วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2552 เวลา 11.00 น.

6. วัดท่าปุยตก                    
    วันพระแรม 15 ค่ำ เดือน 12 วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา 11.00 น.

7. วัดเจดีย์วังไคร้                
    วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1 วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2552 เวลา 11.00 น.

8. วัดบ้านวังไคร้                 
    วันพระแรม 14 ค่ำ เดือน 1 วันพุธที่ 16 ธันวาคม 2552 เวลา 11.00 น.

9. วัดบ้านวังหมัน                
    วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม 2552 เวลา 11.00 น.

-----------------------------------------------------------------------------------

13 ตุลาคม 2552

# ประวัติอำเภอสามเงา

ประวัติความเป็นมาของอำเภอสามเงา

มีตำนานเล่ากันว่า ในอดีตกาลพระนางจามเทวีพระธิดาของเจ้าเมืองละโว้
ได้เสด็จทางชลมารคจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) มาตามลำน้ำปิง
เพื่อไปครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) พอเสด็จมาถึงหน้าผาแห่งหนึ่ง
ได้เกิดอัศจรรย์พายุกระหน่ำอย่างหนักไม่สามารถเสด็จต่อไปได้
ต้องพาข้าราชบริพารหลบหนีภาวะวิปริตทางอากาศอยู่ ณ ที่นั้น
ถึงสามวันสามคืนยังไม่คลี่คลาย
พระนางจึงได้เสด็จไปหน้าผาแห่งนั้น และทรงจุดธูปเทียนสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
พร้อมได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า หากพระนางมีบุญบารมีที่จะได้ครองเมืองหิริภุญชัยแล้ว
ก็ขอให้ภาวะวิปริตของดินอากาศจงจางหายไป อย่าได้มีอุปสรรคแก่การเดินทาง
ต่อไปเลย พออธิษฐานเสร็จ พายุฝนก็ได้จางหายไป ดังปาฏิหาริย์ อากาศแจ่มใส
และได้ครองเมืองหริภุญชัยสมดังอธิษฐาน

หลังจากนั้นพระนางจึงได้เดินทางกลับมาสร้างพระพุทธรูปสามองค์ไว้ ณ ที่ผาแห่งนี้
จึงได้ชื่อว่า “ผาสามเงา” ปัจจุบันหน้าผาแห่งนี้ตั้งอยู่เชิงเขาในบริเวณ
หน้าวัดป่าพระสามเงา บ้านหนองโสน หมู่ที่ 4 ตำบลย่านรี อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2473 ทางราชการได้จัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งมีที่ว่าการฯ อยู่ที่บ้านท่าปุย
จึงได้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอท่าปุย” ขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กิ่งอำเภอสามเงา”
เพื่อให้สอดคล้องกับปูชนียสถาน “ผาสามเงา” เมื่อประชาชนหนาแน่นขึ้น
มีความเจริญมากขึ้นทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็น “อำเภอสามเงา”
เมื่อ พ.ศ. 2501 มาจนถึงทุกวันนี้


ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม

ชาวอำเภอสามเงาส่วนใหญ่จะเป็นชนพื้นเมือง มีภาษาถิ่นของตัวเอง
และวัฒนธรรม ประเพณีแตกต่างกันไปแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ใช้ ภาษาพูดและวัฒนธรรม ประเพณี เป็นแบบภาคกลาง ได้แก่
- ตำบลวังจันทร์ทั้งหมด
- ตำบลวังหมัน หมู่ที่ 1, 3 และ 4
- ตำบลย่านรี หมู่ที่ 3
- ตำบลสามเงา หมู่ที่ 1,2,6 และ 7
  วัฒนธรรม ประเพณี ได้แก่ การบวชพระ, เทศมหาชาติ, การตักบาตรเทโว

กลุ่มที่ใช้ภาษาพูด และวัฒนธรรม ประเพณี เป็นแบบภาคเหนือ ได้แก่
-ตำบลยกกระบัตรทั้งหมด
-ตำบลวังหมัน หมู่ที่ 2, 5, 6, 7
-ตำบลย่านรี หมู่ที่ 1,2,4,5
-ตำบลบ้านนา หมู่ที่ 1,4,5
-ตำบลสามเงา หมู่ที่ 1,3,4,5,7 ซึ่งย้ายถิ่นฐานจากตำบลบ้านนา หลังสร้างเขื่อน
 วัฒนธรรม ประเพณี คล้ายคลึงกับภาคเหนือตอนบน (ลำปาง, เชียงใหม่)
เช่น มีประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีทำบุญบั้งไฟ และประเพณีขึ้นธาตุ

กลุ่มที่ใช้ภาษาพูดเป็นแบบชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงได้แก่
- ตำบลบ้านนา หมู่ที่ 1(บางส่วน) หมู่ที่ 2 และ 3
   นับถือผี (ปัจจุบันนับถือศาสนาพุทธเกือบหมดแล้ว)

สถานที่สำคัญ

อำเภอสามเงา มีสถานที่สำคัญ ๆ ดังนี้

พระบรมธาตุลอย
พระบรมธาตุลอย เป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด สีดอกพิกุล สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาตั้งแต่ครั้ง
พระนางจามเทวี ในช่วงที่พระนางได้เสด็จทางชลมารคจากเมืองละโว้ (ลพบุรี)
เพื่อไปครองเมือง หริภุญชัย (ลำพูน) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่วัดชลประทานรังสรรค์
บ้านจัดสรร หมู่ที่ 3 ตำบล สามเงาอำเภอสามเงา จังหวัดตาก
นอกจากนี้ วัดชลประทานรังสรรค์ ยังมีหลวงพ่อทันใจซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่
มีอายุนับ 1,000 ปี

วัดพระธาตุแก่งสร้อย

ตามตำนาน เล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดชาวลัวะ และทรงอาบน้ำ
ทรงแบ่ง พระเกษาธาตุ,ได้ทำนายถ้ำเสือ และประทับรอยพระพุทธบาท
ชาวลัวะได้เอาดอกสร้อย มาบูชากันเป็นจำนวนมาก
และทำนายว่าเมืองแห่งนี้จะได้ชื่อว่า “เมืองสร้อยหมื่นจ๊ะ”

ในวัดพระธาตุแก่งสร้อยนี้ มีเจดีย์ที่สวยงามมาก ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนเนินเขา
ติดกับลำน้ำปิง การเดินทางต้องใช้ทางเรือ ระยะเวลาจากอำเภอประมาณ 2 ชั่วโมง
และในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะมีประเพณีการขึ้นธาตุ

พระพุทธบาทดอยเขาหนาม

พระพุทธบาทเขาหนามเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีรอยพระพุทธบาทของ
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ตั้งอยู่บนยอดเขากลางน้ำ บริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล
หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีบ้านเรือนแพ
และร้านอาหารตั้งอยู่บริเวณนี้หลายหลัง ในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์จะมีประเพณี
การจุดบั้งไฟ เป็นวัดที่สวยงาม มองเห็นเด่นชัดในระยะไกล
การเดินทางโดยเรือ ใช้เวลาประมาณ 15 นาที

หน้าผาพระสามเงา

ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดป่าพระสามเงา บ้านหนองโสน หมู่ที่ 4 ตำบลย่านรี อำเภอสามเงา
จังหวัดตาก ระยะทางจากอำเภอประมาณ 3 กิโลเมตร มีพระพุทธรูป 3 องค์
ประดิษฐานอยู่ สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นสมัยพระนางจามเทวีได้เสด็จทางชลมารค
จากเมืองละโว้ (ลพบุรี) เพื่อไปครองเมืองหริภุญชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “อำเภอสามเงา”
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสักการบูชาของชาวอำเภอสามเงา

ศาลเจ้าพ่อเขาแก้ว
ประดิษฐานอยู่บนเขายันฮีบริเวณเขื่อนภูมิพล เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่
สักการบูชาของประชาชนในอำเภอสามเงาและนักท่องเที่ยว

เขื่อนภูมิพล
เป็นเขื่อนที่มีความสูงที่สุดในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ ซึ่งสูงเป็นอันดับ 8
ของโลก มีความสูงจากฐานถึงสันเขื่อน 154 เมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้
720,800 กิโลวัตต์ และให้ประโยชน์ด้าน ชลประทานแก่พื้นที่ประมาณ 1,500,000 ไร่

บริเวณสันเขื่อนเป็นจุดชมวิว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดตากและเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวทางน้ำ โดยมีเรือและแพไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
มีระยะทางห่างจากอำเภอ 3 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ยังมีเขื่อนแม่ปิงตอนล่างซึ่งเป็นเขื่อนสำรองไว้เก็บกักน้ำ
และเป็นระบบผันน้ำย้อนกลับเพื่อการผลิตไฟฟ้า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
และช่วงฤดูหนาวจะมีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนตากอากาศเป็นจำนวนมาก

ถ้ำโยคี
ถ้ำโยคีตั้งอยู่บริเวณสันเขาติดกับลำน้ำปิง ก่อนถึงวัดพระธาตุแก่งสร้อย เป็นถ้ำที่สวยงาม
มีหินงอก หินย้อย และมีความชุ่มชื้นตลอดปี ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (เขื่อนภูมิพล)
ได้นำเครื่องปั่นไฟไปติดตั้งทำให้ภายในถ้ำสว่างดูไม่น่ากลัวสำหรับการเข้าไปชม
ความสวยงามภายในถ้ำ การเดินทางไปด้วยเรือหรือแพ

-----------------------------------------------------------------------------------------------