อำเภออุ้มผางมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น รายได้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของอำเภอคือ "การท่องเที่ยว" ขายธรรมชาติ การท่องเที่ยวจะกระจายรายได้ให้คนอุ้มผางได้อย่างกว้างขวางและชัดเจน เนื่องจากการท่องเที่ยวต้องใช้คนให้บริการหลายอย่าง เช่น เจ้าของรีสอร์ท คณะแม่ครัว แม่บ้าน ไกด์ คนพายเรือ เจ้าของรถยนต์ หากการเปลี่ยนแปลงของอำเภออุ้มผางเป็นไปในทางทำลายความเป็นอุ้มผาง ในอนาคตย่อมส่งผลกระทบกับรายได้ในภาคการท่องเที่ยวนี้อย่างแน่นอน
มองจากจุดถนนลอยฟ้า เราต้องไปอีกสุดสายตา แต่หลังจากลงตรงนี้ไปแล้วจะไม่พบถนนบนเขาสูงอีกแล้ว
ภูเขาริมทาง (บางช่วงเท่านั้น ไม่ได้เป็นอย่างนี้ตลอดไป)
ที่พักของพวกเรา "ตูกะสู คอทเทจ" สำหรับผมใช้บริการที่นี่มาตั้งแต่เริ่มสร้างใหม่ๆ
ที่พักภายใน "ตูกะสู คอทเทจ" (จะเสนอรูปภาพบริเวณที่พักแห่งนี้โดยละเอียดต่อไป)
คุณอู้ดดี้ เจ้าของ "ตูกะสู คอทเทจ" ผู้นำและริเริ่มในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
บริการของ "ตูกะสู คอทเทจ" ล่องแม่น้ำแม่กลอง ไปน้ำตกทีลอซู
เริ่มออกเดินทางครับ ต้องรีบออกแต่เช้า จะได้ทันเวลาพระอาทิตย์กระทบกับน้ำตกสายรุ้ง
แม่น้ำแม่กลอง ครับ
ระหว่างทางบนแม่น้ำแม่กลอง
หน้าผาริมแม่น้ำแม่กลอง
น้ำตกสายรุ้ง พวกเราจะเข้าไปในสายรุ้งนี้ ครับ
อยู่ในสายรุ้ง
ไกด์ของตูกะสู คนที่กำลังคัดท้ายคนนี้ เล่าให้ผมฟังว่า ทุกวันนี้เขากลุ้มใจมากเรื่องไก่ชนของเขาหาคู่ซ้อมไม่ได้ แต่ละวันไก่ต้องไปซ้อมตีกับเสาบ้าน ทำให้เสาปูนแตกหักอยู่เรื่อยเลย หญ้าที่บ้านเขาก็ไม่ต้องถาง เขาใช้จอบผูกติดกับขาไก่แล้วปล่อยให้มันเดินไปทั่วบริเวณบ้าน ผมถามว่าคิดได้ไง บางคนตอบว่าเพราะว่าเป็นไกด์ของตูกะสู บางคนก็ว่าได้เรื่องพวกนี้มากมายจากนักท่องเที่ยวนี่แหละ
รู้สึกว่าเมื่อผ่านสายรุ้งมาแล้ว ทุกคนจะยิ้มแย้มกันทุกคน
ต้องมาถึงตรงนี้ ให้ทันเวลา ไม่เช่นนั้นแสงแดดจะส่องไม่ถึง สองฝั่งแม่น้ำจะเป็นหน้าผาสูงมาก
ปลายทาง "น้ำตกทีลอซู"
ความยิ่งใหญ่ของสายน้ำ
ทีลอซู = ภาษากะเหรี่ยง
ที = น้ำ ลอ=ตก ซู=เสียงดัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น