04 ธันวาคม 2552

@ การแก้ไขปัญหายาเสพติดของอำเภอสามเงา

ตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายสามารถ ลอยฟ้า ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อย่างเด็ดขาด โดยกำหนดให้ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบตั้งแต่ระดับหมู่บ้านขึ้นมา อำเภอสามเงาได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่แบบครบวงจร เพื่อหวังให้ผลการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ดังนี้

โครงการเครือข่ายชุมชนป้องกันการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ
พื้นที่สูงบ้านนาเพื่อติดตามผลการบำบัดยาเสพติด (ฝิ่น)



เมื่อวันที่ 14-15 กันยายน 2552
นายพงษ์พันธ์ แสงสุวรรณ นายอำเภอสามเงา
ร่วมกับสำนักงาน
สาธารณสุขอำเภอสามเงา โรงพยาบาลอำเภอสามเงา
จัดทำโครงการเครือข่ายชุมชนป้องกันการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ
พื้นที่สูงบ้านนาเพื่อติดตามผลการบำบัดยาเสพติด (ฝิ่น)

ในพื้นที่ ม.1,2,3 ต.บ้านนาอ.สามเงา จ.ตาก จำนวน 10 คน
พร้อมทั้งการสร้างเครือข่ายชุมชนในการป้องกัน
ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด (ฝิ่น) หวนกลับไปเสพยาเสพติครั้ง


เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2552 
ก.ต.พงษ์พันธ์ แสงสุวรรณ
ผบ.ร้อย อส.อ.สามเงา ที่ 8
มว.อ.เลิศศักดิ์ ทับผึ้ง 
มว.ต.ชัยยศ ธรรมชาติ
ผู้ช่วย ผบ.ร้อย อส.อ.สามเงา ที่ 8
ร่วมกับ
พ.ต.ท. ศักณรงค์ ศรีสด
สารวัตร สภ.ยกกระบัตร
ร่วมกันจับกุมผู้กระทำความผิดลักลอบปลูกกัญชา
ในข้อหาผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 (กัญชา) โดยผิดกฎหมาย
ที่บ้านสองแคว ม.4 ต.ยกกระบัตร อ.สามเงา จ.ตาก
ซึ่งสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 1 รายพร้อมด้วยกัญชาสด จำนวน 2  ตัน


ซ้ายมือ : นายพงษ์พันธ์  แสงสุวรรณ  นายอำเภอสามเงา
คนที่สามจากซ้าย : พ.ต.ท. ศักณรงค์ ศรีสด สารวัตร สภ.ยกกระบัตร
ตรงกลางคือต้นกัญชา และ อส.อ.สามเงา

03 ธันวาคม 2552

# อุ้มผาง 2 ธ.ค.52

ระหว่างวันที่ 1 - 3 ธ.ค. 52 ได้มีโอกาสเดินทางไป อ.อุ้มผาง คณะของพวกเราได้เข้าพักที่ "ตูกะสู คอทเทจ" และได้เดินทางไปที่น้ำตก "ทีลอซู" ที่ไปน้ำตกทีลอซูความต้องการจริงๆ คืออยากไปเห็นการเปลี่ยนแปลงของสถานที่แห่งนี้ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของอำเภออุ้มผางด้วย

ดู ตูกะสู ค้อทเทจ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
อำเภออุ้มผางมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น รายได้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของอำเภอคือ "การท่องเที่ยว" ขายธรรมชาติ การท่องเที่ยวจะกระจายรายได้ให้คนอุ้มผางได้อย่างกว้างขวางและชัดเจน เนื่องจากการท่องเที่ยวต้องใช้คนให้บริการหลายอย่าง เช่น เจ้าของรีสอร์ท คณะแม่ครัว แม่บ้าน ไกด์ คนพายเรือ เจ้าของรถยนต์ หากการเปลี่ยนแปลงของอำเภออุ้มผางเป็นไปในทางทำลายความเป็นอุ้มผาง ในอนาคตย่อมส่งผลกระทบกับรายได้ในภาคการท่องเที่ยวนี้อย่างแน่นอน


มองจากจุดถนนลอยฟ้า เราต้องไปอีกสุดสายตา แต่หลังจากลงตรงนี้ไปแล้วจะไม่พบถนนบนเขาสูงอีกแล้ว


ภูเขาริมทาง (บางช่วงเท่านั้น ไม่ได้เป็นอย่างนี้ตลอดไป)


ที่พักของพวกเรา "ตูกะสู คอทเทจ" สำหรับผมใช้บริการที่นี่มาตั้งแต่เริ่มสร้างใหม่ๆ


ที่พักภายใน "ตูกะสู คอทเทจ" (จะเสนอรูปภาพบริเวณที่พักแห่งนี้โดยละเอียดต่อไป)


คุณอู้ดดี้ เจ้าของ "ตูกะสู คอทเทจ" ผู้นำและริเริ่มในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์


บริการของ "ตูกะสู คอทเทจ" ล่องแม่น้ำแม่กลอง ไปน้ำตกทีลอซู


เริ่มออกเดินทางครับ ต้องรีบออกแต่เช้า จะได้ทันเวลาพระอาทิตย์กระทบกับน้ำตกสายรุ้ง


แม่น้ำแม่กลอง ครับ


ระหว่างทางบนแม่น้ำแม่กลอง


หน้าผาริมแม่น้ำแม่กลอง


น้ำตกสายรุ้ง พวกเราจะเข้าไปในสายรุ้งนี้ ครับ


อยู่ในสายรุ้ง
ไกด์ของตูกะสู คนที่กำลังคัดท้ายคนนี้ เล่าให้ผมฟังว่า ทุกวันนี้เขากลุ้มใจมากเรื่องไก่ชนของเขาหาคู่ซ้อมไม่ได้ แต่ละวันไก่ต้องไปซ้อมตีกับเสาบ้าน ทำให้เสาปูนแตกหักอยู่เรื่อยเลย หญ้าที่บ้านเขาก็ไม่ต้องถาง เขาใช้จอบผูกติดกับขาไก่แล้วปล่อยให้มันเดินไปทั่วบริเวณบ้าน ผมถามว่าคิดได้ไง บางคนตอบว่าเพราะว่าเป็นไกด์ของตูกะสู บางคนก็ว่าได้เรื่องพวกนี้มากมายจากนักท่องเที่ยวนี่แหละ


รู้สึกว่าเมื่อผ่านสายรุ้งมาแล้ว ทุกคนจะยิ้มแย้มกันทุกคน


ต้องมาถึงตรงนี้ ให้ทันเวลา ไม่เช่นนั้นแสงแดดจะส่องไม่ถึง สองฝั่งแม่น้ำจะเป็นหน้าผาสูงมาก


ปลายทาง "น้ำตกทีลอซู"


ความยิ่งใหญ่ของสายน้ำ
ทีลอซู = ภาษากะเหรี่ยง
ที = น้ำ  ลอ=ตก  ซู=เสียงดัง

28 พฤศจิกายน 2552

# ชาวบ้านวังไคร้ ต.วังหมัน บวชป่าชุมชน

ที่ตั้งของผืนป่าบ้านวังไคร้ หมู่ 3 บ้านวังไคร้ ตำบลวังหมัน อำเภอสามเงา จ.ตาก

ดู ป่าบ้านวังไคร้ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 คณะสงฆ์วัดพระเจดีย์วังไคร้ คณะสงฆ์วัดวังไคร้ อบต.วังหมัน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนตำบลวังหมัน ได้เห็นพ้องต้องกัน ควรที่จะร่วมแรงร่วมใจ "บวชป่าชุมชน" ในผืนป่าบ้านวังไคร้ หมู่ 3 ต.วังหมัน อ.สามเงา ให้คืนสภาพความอุดมสมบูรณ์ดั้งเดิม และสามารถยังประโยชน์ต่อชาวบ้านได้ต่อไป



และที่สำคัญที่สุดคือ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2552 ตลอดจนเป็นการสนองต่อพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ



วัตถุประสงค์ของการบวชป่าในครั้งนี้

1) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และตอบสนองต่อพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและป่าไม้



2) เพื่อให้การบวชป่าชุมชนบริเวณพื้นที่สาธารณะ หมู่ที่ 3 บ้านวังไคร้ ต.วังหมัน ได้รับการดูแลให้ฟื้นคืนสภาพและคงความอุดมสมบูรณ์ ตอบสนองประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างยั่งยืนเป็นรูปธรรม



3) เพื่อคืนผืนป่าให้แผ่นดิน รักษาสภาพแวดล้อมและสัตว์ป่า



4) เพื่อให้เกิดแนวร่วม และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และป่าไม้ของชุมชน



ในพิธีบวชป่า ผืนป่าบ้านวังไคร้ ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายสามารถ  ลอยฟ้า  เดินทางมาเป็นประธานในพิธีบวชป่า

นายสามารถ  ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก


เริ่มพิธีบวชป่า



พิธีเปิดงานบวชป่า โดย นายสามารถ  ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก


"ป.เลิศ" นายเลิศศักดิ์  ทับผึ้ง ปลัดอำเภอประสานงานตำบลวังหมัน กล่าวรายงาน
(ป.เลิศ เคยเป็นผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเมืองตาก จำกัด ในสมัยแรกๆ ของโครงการเสริมสร้างฯ)


กองผ้าตรงนี้ ใช้สำหรับบวชต้นไม้ ครับ


"กำนันตุ๋ย" กำนันเสือเหลือง  สุขนันตพงษ์ กำนันตำบลวังหมัน กับ ผวจ.ตาก


ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มพลังมวลชน เข้าร่วมงานโดยพร้อมเพรียงกัน


พระสงฆ์อธิบายความเป็นมาของการบวชป่า


ผวจ.รับผ้าบวชต้นไม้จากเจ้าอาวาส


ผวจ. บวชต้นไม้เป็นปฐมฤกษ์


บวชบ้างครับ (บวชต้นไม้) "ป.อาวุโส" นายอุทัย  เลิศวุฒิ


คนนี้บวชทีเดียว 2 ต้น "กำนันอี้ด" นายชลชัย  สุโพธิ์ กำนันตำบลวังจันทร์


"พี่สีทุน" สจ.สีทุน  ตั้งน้อย สจ.ตลอดกาล จากบ้านแม่ระวาน ต.ยกกระบัตร
เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรสามเงา จำกัด มาโดยตลอด


"พี่บุนนาค" สจ.บุนนาค  ชัยโตสะ (สาลี) ตั้งใจเลือกบวชต้นไม้ที่มีหนาม ไม่รู้ว่าจะขู่ใคร !
นี่ก็เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรสามเงา จำกัด อดีตประธานกรรมการหลายสมัย


ชาวบ้านวังไคร้ นักเรียน กระจายกันออกไปทั่วป่า หายไปกันเร็วมาก เพราะกระจายออกไปหลายจุด


ตามธรรมเนียมครับ มอบของให้ ผวจ. สัญญลักษณ์ของอำเภอสามเงา "กล้วยไข่สามเงา"


เจ้าภาพจัดงานวันนี้ ภาคราชการ "ป.เลิศ" งานผ่านไปอย่างสมบูรณ์แบบ

ต้องขอโทษท่านอื่นๆ อีกหลายท่าน ที่ไม่ได้เอ่ยชื่อและแสดงรูปในที่นี้ เนื่องจากไม่ต้องการให้การโหลดหน้าเว็บเพจนี้ช้าเกินไปเพราะมีรูปมาก ได้พยายามคัดเลือกรูปทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันจัดงานในวันนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่ากิจการงานใดๆ ที่ทำกับประชาชนในท้องถิ่น ต้องได้รับความร่วมมืออย่างจริงใจจากทุกภาคส่วน งานจึงจะสำเร็จด้วยดีและเป็นประโยชน์กับประชาชนในถ้องถิ่นได้แท้จริง


ป่านี้ สมัยก่อนโน้นจะเป็นพื้นที่หาของป่าของชาวบ้าน ตอนหลังมาชักจะหาอะไรไม่ค่อยได้ ไม่ว่าสัตว์หรือพืชอาหาร ต้นไม้จะถูกตัดเพื่อเผาถ่าน จนป่าโล่งขึ้นเรื่อยๆ ในวันนี้ ป่ามีต้นไม่หนาแน่นขึ้นและดูมีชีวิตมากกว่าเมื่อสิบกว่าปีก่อนโน้น


22 พฤศจิกายน 2552

# การเพิ่มประสิทธิภาพของงานในยุคดิจิตอล

คงประมาณสิบกว่าปีจำ พ.ศ.ไม่ได้ มันนานมาแล้ว ค้นหาความรู้ แนวความคิดเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้ประกอบการอบรมคอมพิวเตอร์ ได้ค้นพบเอกสารเพาเวอร์พ้อยท์นี้ในอินเตอร์เน็ต เห็นว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เขาพูดถึงการจัดการเวลาทำงานได้น่าสนใจมาก จึงขอตัดเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการเวลาทำงานตามแนวคิดการทำงานของบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ มาบันทึกไว้ในที่นี่ เพื่อว่าพอจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านได้บ้าง

การเพิ่มประสิทธิภาพของงาน ในยุคดิจิตอล
A new experience for your business
ณัทธร ชัยนาม
Product Manager
nattornj@microsoft.com  
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด


ปัจจัยในการประสบความสำเร็จในยุคดิจิตอล
         ทำให้ธุรกิจเติบโต
         ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
         พัฒนาการสื่อสารระหว่างลูกค้าและพนักงาน
         ใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์
ทำงานอย่างว่องไวและมีประสิทธิภาพ