ฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์
.................................................
ยุทธศาสตร์ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกร เป็นยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่กำหนดไว้ ด้วยการใช้กลยุทธ์การสร้างองค์กรให้ยืนได้ด้วยตนเอง Self Help Organnization การบริหารจัดการ “ธรรมาภิบาล” Good Governace และการให้สมาชิกมีความศรัทธาและเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ และการพึ่งพาตนเอง บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ยุทธวิธีการพัฒนาองค์กร การพัฒนาคน และการสร้าง/ขยายโอกาสให้สถาบันเกษตรกรเข้มแข็ง ยั่งยืน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เพื่อเป็นไปตามยุทธศาสตร์ข้างต้นมีแผนการขับเคลื่อน ๕ แผน คือ
๑.แผนการปรับประสิทธิภาพของกรมส่งเสริมสหกรณ์
- การบริหารและการจัดการตามภารกิจ (Cluster) ใช้การบริหารในรูปของคณะกรรมการ ๓ คณะ ได้แก่
(๑) คณะกรรมการบริหาร (อธิบดี รองอธิบดี หน. ผู้ตรวจราชการกรม ผอ.กอง/สำนัก/ศูนย์สารสนเทศ และเลขานุการกรมเป็นกรรมการและเลขานุการ)มีหน้าที่ในการบริหารงานของกรมให้ให้เป็นไปตามแผนนโยบาย หน้าที่ และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรฯ และคณะรัฐมนตรี
- การบริหารโครงสร้างใหม่ให้มีประสิทธิภาพ การสร้างความเข้มแข็งให้สหกรณ์อำเภอ (สนับสนุนการปฏิบัติงาน กรอบการทำงาน การบริหาร การสั่งการ การพัฒนาบุคคน และความก้าวหน้า) การเพิ่มจำนวนเขตตรวจราชการให้สอดคล้องกับเขตตรวจราชการกระทรวง จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร/แผนการพัฒนาข้าราชการรุ่นใหม่(แผนการพัฒนา ๓ ปี) และการสร้างความร่วมมือด้านวิชาการกับองค์กรสหกรณ์ต่างประเทศ
๔.แผนการบริหารและการจัดการงบประมาณ
- การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรและการใช้งบประมาณ ด้วยการจัดสรรงบประมาณปี ๒๕๕๓ ตามผลสำเร็จของโครงการและผลผลิตของหน่วยงานในงบประมาณ ๒๕๕๒ โดยวิเคราะห์เป็นต้นทุนกิจกรรม กรมจะติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างเข้มงวดและกำหนดเพดานการเบิกจ่ายงบประมาณ (%) ให้สูงกว่าที่กระทรวงกำหนดไว้ ๕% สำหรับการโอนเงินในแต่ละครั้งจะพิจารณาผลการใช้จ่ายเงินเป็นสำคัญโดยให้หน่วยงานรายงานผลการใช้งบประมาณให้กรมทราบทุกสัปดาห์ผ่านระบบสารสนเทศ
- การสำรวจ การตรวจสอบและการประเมินความเสียหาย และการให้ความช่วยเหลือ สมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติในจังหวัดที่รับผิดชอบ สหกรณ์จังหวัดต้องมีระบบการสำรวจ และการประเมินความเสียหายที่เป็นจริงและแม่นยำ จำเป็นต้องทำการสำรวจด้วยสหกรณ์จังหวัดเอง โดยให้ผลการประเมินความเสียหายต้องใกล้เคียงกับตัวเลขที่ชดเชยจริงมากที่สุด และกรมยอมรับให้มีความผิดพลาดไม่เกิน ๒๐% (ที่ผ่านมา ๔๐%) และสหกรณ์จังหวัดต้องติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายทันที
การปกิบัติงานของสหกรณ์จังหวัดในกรณีเป็นเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาความดีความชอบการแต่งตั้งและการโยกย้าย
๕.แผนการพัฒนาสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็งและยั่งยืน
- เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาสถาบันเกษตรกร ด้วยตัวของสมาชิกและสถาบันเกษตรกรเองเป็นหลัก และกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานให้การสนับสนุนเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สมาชิกมีบทบาทสำคัญในการบริหารและพัฒนาสถาบันด้วยตนเอง ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์จะต้องเร่งปรับปรุงและต้องสอดคล้องกับความต้องการของสหกรณ์ และใช้การจัดมาตรฐานสหกรณ์เป็นกลไกหลักในการพัฒนาระบบสหกรณ์
- การป้องกันและปราบปรามสหกรณ์ที่หาประโยชน์จากการเป็นสหกรณ์ และไม่เกิดประโยชน์ต้อสามชิกแท้จริง บิดเบือนหลักสหกรณ์ ใช้สหกรณ์เป็นแหล่งหากำไรจากดอกเบี้ย/ทำธุรกิจอำพราง และร่วมมือกับผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี เช่น ผู้ส่งออกยาง/โรงงานแปรรูปยางเลี่ยงภาษี
- การสร้างกรรมการที่มีคุณภาพและกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของการเป็นกรรมการ ด้วยการใช้หลักและมาตรฐานการพัฒนาของภาคเอกชนมาใช้ จึงจำเป็นต้องจัดทำระบบฐานข้อมูลประวัติกรรมการสหกรณ์ทั้งประเทศ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของกรรมการเบื้องต้น และเป็นฐานข้อมูลให้สหกรณ์พิจารณาประกอบการคัดเลือกกรรมการ และควรสร้างหลักสูตรการพัฒนากรรมการสหกรณ์ที่เข้มแข็ง และในอนาคตสมาชิกใดที่จะเป็นกรรมการสหกรณ์ต้องผ่านหลักสูตร โดยสหกรณ์จะพิจารณาสมาชิกเข้ารับการอบรมและต้องออกค่าใช้จ่ายบางส่วนในการอบรมเองในส่วนของกรมส่งเสริมสหกรณ์ควรพิจารณากำหนดเงื่อนไขการแต่งตั้งกรรมการสหกรณ์ เช่น ในระยะเวลา ๓ ปี สหกรณ์ต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า ๒ใน ๕ ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ และต่ออีก ๕ ปี ต้องมีสัดส่วนกรรมการที่ผ่านการอบรมเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด สำหรับสถาบันที่ดำเนินการจัดหลักสูตรและบริหารหลักสูตรควรเป็นองค์กร/สถาบันที่มีคุณภาพ และเป็นที่เชื่อถือของสังคมเป็นผู้บริการและจัดการหลักสูตร ภายใต้การกำกับของกรมส่งเสริมสหกรณ์
- การสนับสนุนและการพัฒนาระบบตลาดกลางสินค้าเกษตร ให้สถาบันเกษตรกรเป็นตลาดเครือข่ายของตลาดกลางสินค้าเกษตร และสร้างโอกาสให้สถาบันเกษตรกรเข้าสู่แหล่งทุนได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ และรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ด้วยการร่วมมือกับ ธ.ก.ส. สถาบันการเงิน และภาคเอกชน
- การตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน “Q” ผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตร ด้วยการให้สถาบันเกษตรกรเข้าสู่ระบบรับรองแหล่งการผลิต (GAP) การรับรองการเก็บ/การรวบรวมผลผลิต/แปรรูป(GMP : Packing House & Product) เพื่อเพิ่มมูลค่าผลการผลิตเกษตร(Value Creation) ให้สมาชิกสถาบันเกษตรกร โดยร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร และสถาบันเกษตรกร/สมาชิก
- การบริหารและการจัดการตามภารกิจ (Cluster) ใช้การบริหารในรูปของคณะกรรมการ ๓ คณะ ได้แก่
(๑) คณะกรรมการบริหาร (อธิบดี รองอธิบดี หน. ผู้ตรวจราชการกรม ผอ.กอง/สำนัก/ศูนย์สารสนเทศ และเลขานุการกรมเป็นกรรมการและเลขานุการ)มีหน้าที่ในการบริหารงานของกรมให้ให้เป็นไปตามแผนนโยบาย หน้าที่ และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรฯ และคณะรัฐมนตรี
(๒) คณะกรรมการการติดตามและตวรจสอบ (อธิบดี รองอธิบดี ๑ คน ผู้ตรวจราชการกรม และเลขานุการกรม เป็นกรรมการและเลขานุการ) มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบ ให้คำแนะนำการปฏิบัติงานในโครงการและผลผลิตของสหกรณ์มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบสหกรณ์
(๓) คณะกรรมการการพัฒนาวิชาการ (อธิบดี รองอธิบดี ๑ คน ผู้เชี่ยวชาญ และเลขานุการกรม เป็นกรรมการและ
เลขานุการ) เพื่อศึกษา วิจัย รวบรวมงานวิจัย และนำผลงานวิจัยที่ได้ทั้งจากภายในและภายนอกกรมส่งเสริมสหกรณ์มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบสหกรณ์
- การบริหารโครงสร้างใหม่ให้มีประสิทธิภาพ การสร้างความเข้มแข็งให้สหกรณ์อำเภอ (สนับสนุนการปฏิบัติงาน กรอบการทำงาน การบริหาร การสั่งการ การพัฒนาบุคคน และความก้าวหน้า) การเพิ่มจำนวนเขตตรวจราชการให้สอดคล้องกับเขตตรวจราชการกระทรวง จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร/แผนการพัฒนาข้าราชการรุ่นใหม่(แผนการพัฒนา ๓ ปี) และการสร้างความร่วมมือด้านวิชาการกับองค์กรสหกรณ์ต่างประเทศ
- การ Out Source งามที่เป็นภารกิจสำคัญ เน้นเฉพาะงานเร่งด่วนภารกิจสำคัญ เช่น ด้านกฎหมาย ด้านระบบสารสนเทศ ด้านการตรวจสอบและควบคุมระบบสหกรณ์ เพื่อให้พัฒนาระบบสหกรณ์ได้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ รวดเร็วและประหยัดงบประมาณ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องปรับบทบาทจากการเป็นผู้ปฏิบัติเป็นผู้ตรวจสอบ ควบคุม และกำกับ แทน
๒.แผนการสร้างปัจจัยการผลิตทางเกษตรสะอาด(Green Products) ของสถาบันเกษตรกร
- การตรวจสอบและการรับรองคุณภาพ ปุ๋ย สารเคมีทางการเกษตร และเมล็ดพันธุ์ภายใต้ความร่วมมือของกรมวิชาการเกษตร (สนับสนุนวิชาการ และการวิเคราะห์) บริษัท Central Lab จำกัด(บริษัทของรัฐบาล) และสถาบันเกษตรกรที่จำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เป็นการดำเนินงานเชิงการบริการที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์และสมาชิก เพื่อให้สมาชิกใช้ปัจจัยทางการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต และสามารถลดต้นทุนการผลิตของสมาชิกได้ - การจัดระบบการรับรองมาตรฐานปัจจัยการผลิตก่อนจัดซื้อ ของสถาบันเกษตรกรเพื่อให้สมาชิกมีความั่นใจว่าปัจจัยการผลิตที่สหกรณ์นำมาจำหน่ายและบริการให้กับสมาชิกมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานกำหนด โดยกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จำหน่ายปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรต้องมีผลการวิเคราะห์และการรับรองคุณภาพปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจากห้องปฏิบัติการของกรมวิชาการเกษตรห้องปฏิบัติการ Central Lab หรือห้องปฏิบัติการเอกชนที่กระทรวงเกษตรฯรับรอง
- การจัดคาราวาน “Green Products” จำหน่ายปัจจัยการผลิต ปุ๋ย สารเคมี และเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ราคาถูก และการแนะนำการเกษตรที่ถูกต้องให้กับสมาชิกสถาบันเกษตรกร และการรณรงค์ลดการใช้สารเคมี โดยความร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร เอกชน และสถาบันเกษตรกร
- สนับสนุนและการส่งเสริมการจัดตั้ง ร้าน “Q-Shop” และ ๑ สหกรณ์ ๑โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใหสมาชิกสหกรณ์ผลิตและใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร(ปุ๋ยเคมี/อินทรีย์สารเคมี เมล็ดพันธุ์) ที่มีคุณภาพ และราคาถูก โดยความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน จัดทำมาตรฐานของสหกรณ์ที่จะดำเนินกิจกรรมข้างต้น เพื่อคัดเลือกสหกรณ์ที่มีศักยภาพจริงและสมาคมเอกชนที่ประกอบการธุรกิจปัจจัยทางการเกษตร
๓.แผนการรักษาเสถียรภาพราคาผลผลิตเกษตร
- การแก้ปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ ด้วยการจัดทำแผนและสนับสนุนการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำอย่างเป็นระบบ โดยการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผ่านจังหวัด ผ่านสถาบันเกษตรกรและเครือข่าย และผ่าน Modem Trade ภายใต้แผนการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ และการจัดมหกรรมผลผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตรของสหกรณ์ในระดับประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อเพิ่มและการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ และสนับสนุนการแปรรูปและการส่งออก๔.แผนการบริหารและการจัดการงบประมาณ
- การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรและการใช้งบประมาณ ด้วยการจัดสรรงบประมาณปี ๒๕๕๓ ตามผลสำเร็จของโครงการและผลผลิตของหน่วยงานในงบประมาณ ๒๕๕๒ โดยวิเคราะห์เป็นต้นทุนกิจกรรม กรมจะติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างเข้มงวดและกำหนดเพดานการเบิกจ่ายงบประมาณ (%) ให้สูงกว่าที่กระทรวงกำหนดไว้ ๕% สำหรับการโอนเงินในแต่ละครั้งจะพิจารณาผลการใช้จ่ายเงินเป็นสำคัญโดยให้หน่วยงานรายงานผลการใช้งบประมาณให้กรมทราบทุกสัปดาห์ผ่านระบบสารสนเทศ
- การสำรวจ การตรวจสอบและการประเมินความเสียหาย และการให้ความช่วยเหลือ สมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติในจังหวัดที่รับผิดชอบ สหกรณ์จังหวัดต้องมีระบบการสำรวจ และการประเมินความเสียหายที่เป็นจริงและแม่นยำ จำเป็นต้องทำการสำรวจด้วยสหกรณ์จังหวัดเอง โดยให้ผลการประเมินความเสียหายต้องใกล้เคียงกับตัวเลขที่ชดเชยจริงมากที่สุด และกรมยอมรับให้มีความผิดพลาดไม่เกิน ๒๐% (ที่ผ่านมา ๔๐%) และสหกรณ์จังหวัดต้องติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายทันที
การปกิบัติงานของสหกรณ์จังหวัดในกรณีเป็นเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาความดีความชอบการแต่งตั้งและการโยกย้าย
๕.แผนการพัฒนาสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็งและยั่งยืน
- เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาสถาบันเกษตรกร ด้วยตัวของสมาชิกและสถาบันเกษตรกรเองเป็นหลัก และกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานให้การสนับสนุนเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สมาชิกมีบทบาทสำคัญในการบริหารและพัฒนาสถาบันด้วยตนเอง ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์จะต้องเร่งปรับปรุงและต้องสอดคล้องกับความต้องการของสหกรณ์ และใช้การจัดมาตรฐานสหกรณ์เป็นกลไกหลักในการพัฒนาระบบสหกรณ์
- การป้องกันและปราบปรามสหกรณ์ที่หาประโยชน์จากการเป็นสหกรณ์ และไม่เกิดประโยชน์ต้อสามชิกแท้จริง บิดเบือนหลักสหกรณ์ ใช้สหกรณ์เป็นแหล่งหากำไรจากดอกเบี้ย/ทำธุรกิจอำพราง และร่วมมือกับผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี เช่น ผู้ส่งออกยาง/โรงงานแปรรูปยางเลี่ยงภาษี
- การสร้างกรรมการที่มีคุณภาพและกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของการเป็นกรรมการ ด้วยการใช้หลักและมาตรฐานการพัฒนาของภาคเอกชนมาใช้ จึงจำเป็นต้องจัดทำระบบฐานข้อมูลประวัติกรรมการสหกรณ์ทั้งประเทศ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของกรรมการเบื้องต้น และเป็นฐานข้อมูลให้สหกรณ์พิจารณาประกอบการคัดเลือกกรรมการ และควรสร้างหลักสูตรการพัฒนากรรมการสหกรณ์ที่เข้มแข็ง และในอนาคตสมาชิกใดที่จะเป็นกรรมการสหกรณ์ต้องผ่านหลักสูตร โดยสหกรณ์จะพิจารณาสมาชิกเข้ารับการอบรมและต้องออกค่าใช้จ่ายบางส่วนในการอบรมเองในส่วนของกรมส่งเสริมสหกรณ์ควรพิจารณากำหนดเงื่อนไขการแต่งตั้งกรรมการสหกรณ์ เช่น ในระยะเวลา ๓ ปี สหกรณ์ต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า ๒ใน ๕ ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ และต่ออีก ๕ ปี ต้องมีสัดส่วนกรรมการที่ผ่านการอบรมเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด สำหรับสถาบันที่ดำเนินการจัดหลักสูตรและบริหารหลักสูตรควรเป็นองค์กร/สถาบันที่มีคุณภาพ และเป็นที่เชื่อถือของสังคมเป็นผู้บริการและจัดการหลักสูตร ภายใต้การกำกับของกรมส่งเสริมสหกรณ์
- การสนับสนุนและการพัฒนาระบบตลาดกลางสินค้าเกษตร ให้สถาบันเกษตรกรเป็นตลาดเครือข่ายของตลาดกลางสินค้าเกษตร และสร้างโอกาสให้สถาบันเกษตรกรเข้าสู่แหล่งทุนได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ และรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ด้วยการร่วมมือกับ ธ.ก.ส. สถาบันการเงิน และภาคเอกชน
- การตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน “Q” ผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตร ด้วยการให้สถาบันเกษตรกรเข้าสู่ระบบรับรองแหล่งการผลิต (GAP) การรับรองการเก็บ/การรวบรวมผลผลิต/แปรรูป(GMP : Packing House & Product) เพื่อเพิ่มมูลค่าผลการผลิตเกษตร(Value Creation) ให้สมาชิกสถาบันเกษตรกร โดยร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร และสถาบันเกษตรกร/สมาชิก
......................................................................
๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น